การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและความเสื่อมตามวัย ส่วนมากเป็นการหกล้มภายในบริเวณบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว เป็นต้น มีอาการตั้งแต่เล็กน้อย เช่น อาการฟกช้ำ แผลถลอก กระดูกหัก จนถึงขึ้นรุนแรง และเสียชีวิตได้
การออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้ม
สำหรับผู้สูงอายุความสามารถในการทรงตัว การก้าวเดินแย่ลง การออกกำลังกายนี้จะเป็นการเพิ่ม
ความสามารถในการทรงตัวและการก้าวเดิน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้มในผู้สูงอายุได้
วิธีทำ

  • ยืนใช้มือ 2 ข้าง จับพนักพิงเก้าอี้
  • งอเข่างอสะโพกขึ้น 1 ข้างค้างไว้ 3-5 วินาที พยายามยืนทรงตัวให้มั่นคง
  • โดยทำทีละข้าง ทำ 10 ครั้ง/ 3 รอบ
  • ออกกำลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

    หลังจากมีการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะมีภาวะกระดูกหักร่วมด้วยเนื่องจากในผู้สูงอายุมีมวลกระดูกที่ลดลงทำให้มีกระดูกหักได้ง่าย บริเวณที่พบได้บ่อย เช่น กระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ และกระดูกข้อไหล่เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะข้อติด ภาวะการติดเชื้อ ความสามารถของร่างกายลดลง ภาวการณ์ติดเตียงและเกิดการหลงลืมได้ง่าย
    การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา
    สามารถช่วยเพิ่มความมั่นคงในการทรงตัวขณะทำการเปลี่ยนท่าทาง เพิ่มความสามารถในการยืน หรือการเดิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    วิธีทำ

  • ยืนใช้มือ 2 ข้าง จับพนักพิงเก้าอี้
  • งอเข่างอสะโพกขึ้น 1 ข้าง จากนั้นเขย่งเท้าขึ้น ยืนทรงตัวให้มั่นคง
  • และค่อย ๆ ผ่อนลง(หากไม่สามารถยืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียวได้

    สามารถทำ 2 ข้าง พร้อมกัน)

    โดยทำทีละข้าง ค้างไว้ 3-5 วินาที ทำ 10 ครั้ง/ 3 รอบ
    ออกกำลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

    ปัจจัยที่ทำให้เกิดการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ที่ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพราะมักมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะได้ง่ายขณะทำการเปลี่ยนท่าทาง ควรทำการเปลี่ยนท่าทางอย่างช้า ๆ รวมถึงควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาดเรียบร้อยและมีแสงสว่างที่เพียงพอ เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะไม่ค่อยระมัดระวังเมื่อเคลื่อนไหวภายในบ้านเพราะเป็นสถานที่ที่เคยชินร่วมกับมีสายตาที่แย่ลง จึงเกิดการหกล้มภายในบ้านได้บ่อยครั้ง
    การเปลี่ยนท่าทางที่ถูกวิธี
    วิธีการเปลี่ยนท่าทางที่ถูกต้องและเหมาะสมสามารถลดความเสี่ยงในการหกล้มได้
    และยังช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้

  • เปลี่ยนจากท่านอนหงายไปนอนตะแคง
  • เอาขาทั้ง 2 ข้างลงข้างเตียง
  • ใช้มือดันเตียงเพื่อยกตัวขึ้นนั่ง
  • นั่งห้อยขาข้างเตียงโดยใช้มือทั้ง 2 ข้างจับเตียง
  • เมื่อมั่นใจว่าไม่มีอาการเวียนศีรษะจึงลุกขึ้นยืน

    ปัจจัยที่ทำให้เกิดการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ที่ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพราะมักมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะได้ง่ายขณะทำการเปลี่ยนท่าทาง ควรทำการเปลี่ยนท่าทางอย่างช้า ๆ รวมถึงควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาดเรียบร้อยและมีแสงสว่างที่เพียงพอ เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะไม่ค่อยระมัดระวังเมื่อเคลื่อนไหวภายในบ้านเพราะเป็นสถานที่ที่เคยชินร่วมกับมีสายตาที่แย่ลง จึงเกิดการหกล้มภายในบ้านได้บ่อยครั้ง

    ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Fanpage: MatsunagaTh