เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้(Cookies)เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้
PRODUCTS

PRODUCTS

カテゴリ名 カテゴリの製品一覧が並ぶ - 全ての情報が見えている状態

เก้าอี้อาบน้ำ เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน?

เก้าอี้อาบน้ำ (Bath Chair) เป็นเก้าอี้ที่ออกแบบมาจากวัสดุกันน้ำ และ มักจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานเพื่อป้องกันการลื่นไถล ใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการอาบน้ำ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือ ผู้ที่เพิ่งจะหายจากอาการบาดเจ็บ ซึ่งมีฟังก์ชั่นมากมายเพื่อตอบโจทย์ตามอาการและความต้องการของผู้ใช้งาน คุณสมบัติพิเศษที่ควรเลือกพิจารณาเมื่อต้องการเลือกซื้อเก้าอี้อาบน้ำ การปรับระดับความสูงที่นั่ง ควรคำนึงถึงระดับความสูงของที่นั่งที่เหมาะสมกับความสูงของผู้ใช้งาน เก้าอี้อาบน้ำที่สามารถปรับระดับความสูงที่นั่งได้ จะทำให้ระดับที่นั่งนั้นเหมาะสมกับผู้ใช้งานที่มีสรีระที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นง่ายต่อการลุก และ ลดอุบัติเหตุจากการลื่นล้ม ปลายขาเก้าอี้ควรมีวัสดุช่วยยึดจับพื้นลื่น เก้าอี้อาบน้ำที่มีวัสดุช่วยยึดจับพื้น จะช่วยให้ผู้ใช้งานนั้นนั่งได้อย่างมั่นคง ช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่นล้ม ที่วางแขนยกขึ้นได้ ที่วางแขนจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจับ หรือ พยุงตัวในขณะใช้งานได้ และหาก ที่วางแขนสามารถยกขึ้นได้ ก็จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถลุกขึ้นยืน และ เคลื่อนย้ายได้สะดวก อีกทั้งยังช่วยเบาแรง ลดภาระผู้ดูแลในการเคลื่อนย้าย และ ช่วยลดอุบัติเหตุอีกด้วย พนักพิง พนักพิงของเก้าอี้อาบน้ำ จำเป็นต่อผู้ใช้งานที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่น และ หงายหลัง ที่นั่งทำจากวัสดุไม่ซับน้ำ และ ป้องกันเชื้อโรค ที่นั่งโดยทั่วไปทำจากวัสดุที่ไม่ซับน้ำ หรือ อ่อนนุ่ม ซึ่งอาจเป็นบ่อเกิดในการกักเก็บเชื้อโรค เนื่องจากในห้องน้ำมีความชื้นสะสมอยู่ อาจเกิดเชื้อโรคจากการเก็บเก้าอี้อาบน้ำไว้ในห้องน้ำ การใช้วัสดุที่ป้องกันเชื้อโรค หรือ […]

เลือกรถเข็นอย่างไรให้เหมาะกับผู้ใช้งาน?

ปัจจุบันรถเข็นวีลแชร์มีให้เลือกมากมายหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นรถเข็นผู้ป่วย รถเข็นผู้สูงอายุ หรือแม้แต่รถเข็นผู้พิการ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ารถเข็นที่คุณกำลังจะตัดสินใจซื้อ เหมาะกับผู้ใช้งาน หรือไม่ ก่อนอื่นเลย ควรจะต้องรู้ก่อนว่าผู้ใช้งาน มีลักษณะอย่างไร สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากน้อยเพียงใด รถเข็นสำหรับผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรเลือกซื้อรถเข็นที่มีฟังก์ชันหลากหลาย เพื่อช่วยซัพพอร์ตผู้ดูแลและผู้ใช้งาน และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขณะเคลื่อนย้ายผู้ใช้งาน ผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ส่วนใหญ่จะใช้รถเข็นเป็นเวลานาน เบาะรองนั่งควรเป็นเบาะที่นั่งสบาย ถ่ายเทอากาศ และทำความสะอาดได้ง่าย เพื่อป้องกันกลิ่นอับชื้น รถเข็นสำหรับผู้ที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชันหลากหลาย และมีน้ำหนักเบา กะทัดรัด พกพาสะดวก ควรเลือกซื้อรถเข็นที่มีล้อใหญ่เข็นเองได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ออกกำลังกายขณะนั่งรถเข็น ชนิดของรถเข็น ยางตัน ล้อยางตันดีตรงที่ไม่ต้องสูบลมแต่ความนุ่มนวลในการใช้งานก็มีน้อยกว่ารุ่นล้อยางลม ยางลม ไปได้ทุกที่แม้ผิวขรุขระ มีความนุ่มนวลในการใช้งานมากกว่ายางตัน รถเข็นประเภทล้อเล็ก เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่กล้ามเนื้อแขนไม่มีแรง, แขนไม่สามารถใช้งานได้ และ ผู้ใช้งานที่มีผู้ดูแลช่วยเข็นตลอดเวลา หรือผู้ที่ต้องการความสะดวกในการพกพา เวลาที่ต้องพาผู้ใช้งานออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน เพราะรถเข็นแบบล้อเล็กเมื่อพับเก็บจะมีขนาดเล็กกะทัดรัดประหยัดพื้นที่สำหรับวางรถเข็นภายในรถ และมีน้ำหนักค่อนข้างเบา จึงเหมาะและสะดวกแก่การพกพา รถเข็นประเภทล้อใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่แขนยังสามารถใช้งานได้ปกติ โดยผู้ใช้งานนั้นจะสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองโดย การใช้มือจับที่วงแหวนด้านข้างของล้อ และหมุนบังคับทิศทาง ซ้าย-ขวา , หน้า-หลัง, ได้ตามต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเข็นตลอดเวลา นอกจากนี้การเลือกใช้รถเข็นประเภทนี้ยังถือเป็นการบริหารกล้ามเนื้อส่วนแขนให้แข็งแรงไปในตัว อีกด้วย […]

นั่งรถเข็นวีลแชร์ให้ถูกวิธีส่งผลดีต่อร่ายกาย

พฤติกรรมการนั่งที่ไม่ถูกต้องถือเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกระดูก นับตั้งแต่อาการปวดหลังและคอ ไปจนถึงโรคกระดูกสันหลังเสื่อม โรคกระดูกสันหลังคดงอผิดปกติ หรือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากคุณเคยชินกับพฤติกรรมเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยงเพราะนั่นจะทำให้คุณต้องเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพกระดูกในระยะยาว การนั่งรถเข็นวีลแชร์ที่ไม่ถูกวิธีอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อผู้ใช้งาน นั่งหลังโก่งงอ ผู้ใช้งานที่นั่งหลังโก่งงอส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและส่งผลต่อการทารอาหารได้น้อย นั่งหลังงอ หลังค่อม – กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งค้าง ทำให้ปวดเมื่อยและจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นใยกล้ามเนื้อเมื่อนั่งท่านี้นานๆ ส่งผลให้เกิดความเสื่อมหรือมีการกดทับของเส้นประสาทสันหลัง นั่งไถลไปด้านหน้า การนั่งไถลไปด้านหน้า ทำให้น้ำหนักตัวไปกดทับต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง เพราะน้ำหนักตัวของเราไม่ได้ลงที่ก้นอย่าง เต็มที่แต่ไปลงที่แนวกระดูกสันหลัง และกระดูกก้นกบแทน ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังตามมา นั่งเอียงไปด้านข้าง หลาย ๆ ท่านคงคิดว่าการเลือกรถเข็นที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวมาก ๆ จะทำให้ผู้ใช้งานนั่งสบายมากกว่า แต่ไม่เลย การเลือกรถเข็นที่ใหญ่กว่าตัวผู้ใช้งานจะส่งผลเสียในระยะยาว เนื่องจาก จะทำให้ผู้ใช้งานนั่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หากนั่งนาน ๆ บ่อยครั้งอาจทำให้กระดูกสันหลังโค้งงอได้ ควรเลือกรถเข็นที่มีขนาดพอดีกับตัว ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ข้อดีของการนั่งรถเข็นวีลแชร์ที่ถูกวิธี สามารถนั่งบนรถเข็นวีลแชร์ได้เป็นเวลานาน ร่างกาย สามารถกระจายน้ำหนักได้ดีทำให้สามารถนั่งบนรถเข็นวีลแชร์ได้เป็นเวลานานโดยไม่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ทำกิจกรรมต่างๆได้ง่ายขึ้น เมื่อนั่งในลักษณะที่ถูกต้องและมั่นคง ส่งผลให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้สะดวกและคล่องตัวมากขึ้น ป้องกันการแข็งตัวของข้อกระดูก เนื่องจากร่างกายไม่มีความตึงเครียด ผู้ใช้งานสามารถขยับแขนและขาเพื่อให้ผ่อนคลาย ป้องกันการแข็งตัวของข้อกระดูกได้ วิธีนั่งรถเข็นวีลแชร์ที่ถูกต้อง ศีรษะตั้งตรง คอและลำตัวตั้งตรง ข้อศอกงอเล็กน้อยประมาณ 90 องศา […]

แผลกดทับ

หลายๆท่านคงเคยได้ยินเรื่องแผลกดทับมาไม่มากก็น้อย วันนี้เราจะนำเสนอเกี่ยวกับโอกาสการเกิดแผลกดทับ แผลกดทับ หรือ Bedsore เป็นอาการหนึ่งที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยหรือผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงต้องใช้ชีวิตอยู่บนเตียงนอน และ วีลแชร์เป็นหลัก จนส่งผลทำให้เกิดแผลกดทับ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะป่วยเป็นอาการแผลกดทับซ้ำ ๆ หรือ บางรายมีอาการหนักจนอาจถึงขั้นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการก็เป็นได้ แผลกดทับเกิดจากการกดทับของน้ำหนักร่างกายอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานานทำให้ผิวหนังบางส่วนถูกกดทับ ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก โดยอาการเบื้องต้นจะเป็นรอยแดงบริเวณที่กดทับ และ อาจลุกลามไปเรื่อยจนส่งผลต่อกล้ามเนื้อ เส้นเอน และ กระดูก แผลกดทับจำแนกออกเป็น 4 ระดับ ระดับ 1 – ผิวหนังเป็นรอยแดง ระดับ 2 – ผิวหนังส่วนบนหลุดไป ฉีกขาดเป็นแผลตื้น มีรอยแดงบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน มีสิ่งขับหลั่งจากแผลปริมาณเล็กน้อยหรือปานกลาง ระดับ 3 – มีการทำลายผิวถึงชั้นไขมัน มีรอยแผลลึกเป็นหลุมโพรง มีสิ่งขับหลั่งออกจากแผลมาก อาจมีกลิ่นเหม็น ระดับ 4 – มีการทำลายถึงเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ […]

โรคปอดอักเสบและวิธีการป้องกัน

เป็นอาการปอดติดเชื้อและเกิดภาวะอักเสบ โดยอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย โดยจะพบมากในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการ โรคปอดอักเสบอาจเกิดได้ทั้งจากไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา เข้าสู่ทางเดินหายใจ ปอดอักเสบติดเชื้อจากการใกล้ชิดผู้ป่วยทั้งในและนอกโรงพยาบาล โดยไม่ได้สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือล้างมืออย่างสม่ำเสมอ ปอดอักเสบติดเชื้อจากการไม่ดูแลความสะอาดของช่องปาก ทำให้เชื้อโรคลงสู่ทางเดินหายใจ ปอดอักเสบติดเชื้อจากการใช้เครื่องช่วยหายใจมากกว่า 48 ชั่วโมง หรือ นอนบนเตียงเป็นเวลานาน ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้สมรรถภาพของปอดลดลง ปอดอักเสบติดเชื้อจากการสำลักอาหาร การป้องกันโรคปอดอักเสบ รับวัคซีน งดสูบบุหรี่ นอนหลับให้เพียงพอ ล้างมือเป็นประจำสม่ำเสมอ รักษาความสะอาดในช่องปาก ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 30 นาทีขึ้นไป หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย หรือสวมใส่หน้ากากอนามัยขณะใกล้ชิดผู้ป่วย สิ่งที่สามารถทำได้…แม้จะอยู่ที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ทำความสะอาดช่องปาก เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อโรค ที่อาจลงสู่ทางเดินหายใจ “นั่งหลังตรง” นั่งประสานมือไว้หลังศีรษะพร้อมหายใจเข้าทางจมูก หนีบข้อศอกเข้าหากันและก้มศีรษะ พร้อมหายใจออกยาวๆทางจมูก “นั่งหลังตรง” หายใจเข้าทางจมูก ให้หน้าท้องป่องออก […]

ภาวะกระดูกสันหลังยุบตัว

พบมากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะหลังค่อม หรือมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งมักเกิดจากการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ยกของหนัก หรืออุบัติเหตุหกล้มก้นกระแทกพื้น ทำให้กระดูกเกิดการยุบตัว และมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงทันทีเมื่อทำการเคลื่อนไหว ยืน เดิน ในบางรายมีภาวะการยุบตัวของกระดูกโดยไม่ทราบสาเหตุ การฟื้นตัวจะใช้เวลาค่อนข้างนานเนื่องจากต้องรอให้กระดูกเชื่อมติดกัน และอาการปวดที่รุนแรงจะทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง มีความเสี่ยงที่จะทำให้ความสามารถต่าง ๆ ลดลงได้ การลุกขึ้นยืนอย่างถูกวิธีจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อและป้องกันการหกล้ม ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังยุบตัวมีความเกี่ยวข้องกับลักษณะท่าทางและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะหลังค่อม หรือกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวไม่แข็งแรงจะมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกสันหลังยุบตัวได้ง่ายกว่า เมื่อมีภาวะกระดูกสันหลังยุบตัวแล้ว สิ่งที่อาจจะเกิดตามมาคือ ปวดหลังเรื้อรัง ความสามารถของร่างกายลดลง ต้องอาศัยผู้ช่วยเหลือ และมีภาวะติดเตียงได้ง่าย การออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะหลังค่อม เป็นการเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงหลังของเราช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลังค่อม การออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะกระดูกสันหลังยุบตัว การเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยพยุงกระดูกสันหลังและร่างกายให้มีท่าทางที่เหมาะสม สามารถทำการเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นคง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกสันหลังยุบตัวได้ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Fanpage: MatsunagaTh

รถเข็นที่มีฟังก์ชั่นกับไม่มีฟังก์ชั่นควรเลือกซื้อแบบไหนดี?

หลาย ๆ คนคงสงสัยว่ารถเข็นที่มีฟังก์ชั่นกับไม่มีฟังก์ชั่นควรเลือกซื้อแบบไหนดี? ผู้ใช้ประเภทไหนถึงจะต้องใช้รถเข็นที่มีฟังก์ชั่น วันนี้มัตซึนากะมีคำตอบ รถเข็นที่มีฟังก์ชั่น (ที่พักเท้า, ที่พักแขนเปิดได้) เหมาะกับผู้ใช้งานที่ช่วยเหลือตัวเองได้ไม่มาก เพราะการที่จะต้องเคลื่อนย้ายผู้ใช้งานจากรถเข็นไปอีกที่หนึ่ง (เช่น เตียงหรือเก้าอี้) การใช้รถเข็นที่มีฟังก์ชั่นจะช่วยให้การเคลื่อนย้ายของผู้ใช้งานสะดวกและปลอดภัย และยังสามารถทุ่นแรงผู้ดูแลได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บได้อีกด้วย รถเข็นที่ไม่มีฟังก์ชั่น เหมาะกับผู้ใช้งานที่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อยู่ เพราะถ้าใช้งานกับผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะการที่จะต้องเคลื่อนย้ายจากรถเข็นไปอีกที่หนึ่งผู้ใช้งานจะต้องลุกขึ้นยืนถึงจะสามารถเคลื่อนย้ายได้จึงอาจเสี่ยงต่อการหกล้ม ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Fanpage: MatsunagaTh

MATSUNAGA Logomark

MATSUNAGA (THAILAND) COMPANY LIMITED

Phone
+66 (0) 2-048-3166
+66 (0) 2-048-3167
LINE LINE icon
LINE button
Mail
info@matsunaga.co.th
Address
889 Moo.8 Samrong Klang, Phra Pradaeng District, Samut Prakan 10130 Head office
Tax ID
0105557092802
PAGE TOP
MATSUNAGA Logomark
ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ เลขที่ ฆพ. 1157/2565
Caution:Notices the warning label and
accompanying documents before use.